ในสังคมไทย เรามักพูดกันเสมอๆ ว่าเป็นประชาธิปไตย ถูกคนมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน สามารถทำอะไรที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิคนอื่นได้ แต่นั่นเป็นแค่คำพูดหรือเปล่า? หรือสามารถทำได้อย่างนั้นจริงๆ บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้เกิดความแตกแยกในสังคม เพียงแต่พยายามชี้ให้เห็นถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และคำว่าเท่าเทียม นั้นมีจริงๆ หรือไม่ เรามาลองยกตัวอย่างกันดู

ความเท่าเทียมของ “สังคมในวัยเรียน”

ถ้าจะยกตัวอย่าง กรณีศึกษาถึงความเท่าเทียมกันในสมัยตอนเรียนหนังสือ มันมีเหตุการณ์มากมาย ที่อาจจะรู้สึกว่า “นี่หรือคือความเท่าเทียม” เช่น

การแสดงความคิดเห็น : หลายครั้งที่นักเรียนแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียน หรือไม่เกี่ยวข้องก็ตาม หากมีอะไรที่ผิดไปจากในตำราเรียน หรือไม่ตรงใจ ขัดต่อความคิดของครูผู้สอน ความเห็นเหล่านั้นมักจะโดนตีตกไป หรือ แม้กระทั่ง ความคิดเห็นของเพื่อนที่เรียนได้คะแนนดี เรียนเก่งในห้อง มักจะได้รับการตอบรับมากกว่า นักเรียนที่ได้เรียนไม่ค่อยเก่ง หรือได้เกรดไม่ดี

การใช้ชีวิตในโรงเรียน : เรามักจะเห็นการเยินยอให้กับเด็กที่เรียนดี ส่วนมากทำอะไรก็ไม่ผิด หรือถ้าทำผิดกฎโรงเรียน อาจารย์มักจะมองข้ามสิ่งนั้น หรือลงโทษที่น้อยกว่า เด็กที่เรียนไม่ดี

ความเท่าเทียมกันระหว่าง ครู และ ลูกศิษย์ : อย่างที่เราเคยเห็นในดราม่าว่า ทำไมนักเรียนไม่สามารถ ขึ้นลิฟท์ของโรงเรียนได้ ทั้งๆ ที่จ่ายค่าเทอม เด็กๆ เมื่อยไม่เป็นหรอ หากถ้าจะให้เท่าเทียม ควรชี้แจงให้เป็นทางการว่า “เหตุใดนักเรียนถึงไม่สามารถขึ้นได้”

การไว้ผมยาว หรือสั้น : ถ้าเรามองในภาพใหญ่ของโรงเรียน ทำไมเด็กโรงเรียน อินเดอร์ ถึงสามารถไว้ผมอะไรก็ได้ ในขณะที่ โรงเรียนรัฐบาลต้องเข้มงวด กับ ทรงผม หากจะบอกว่าต้องการให้เป็นระเบียบวินัย โรงเรียนอินเตอร์ต่างๆ ไม่มีระเบียบวินัยตรงไหน? ทำไมโรงเรียนไทย จึงยังบังคับสิ่งนี้ หรือในขณะที่ ครูสามารถไว้ผม ทำสีใดๆ มาได้ แต่นักเรียนกับโดนห้ามทำ

ชุดนักเรียน : จำเป็นต้องใส่ให้ถูกกฎระเบียบ เพื่อความเท่าเทียมกัน หันกลับมามองที่ภาพใหญ่ เรายังมักจะเห็นนักเรียนในพื้นที่กันดาร ใส่ชุดนักเรียนที่ได้รับบริจาค ใส่ถุงเท้าที่ย้วย จนแทบจะไม่เรียกว่าถุงเท้าอยู่แล้ว หรือบางโรงเรียนก็ไม่สามารถใส่ได้ รองเท้าที่ใส่ก็แทบขาดอยู่แล้ว หากเรามองถึงความเท่าเทียม การแต่งตัวให้ครบตามเครื่องแบบนักเรียนยังจำเป็นใช่หรือไม่

ความเท่าเทียมกัน ในด้านของอาชีพ

การประกอบอาชีพต่างๆ ในสังคมควรได้รับการยอมรับที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะทำอาชีพใดก็ตาม ควรได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพใดก็ได้ เช่น

นอกเวลางาน : จากดราม่าล่าสุดที่ครูไปร้องเพลงเป็นอาชีพเสริม กลับโดนมองว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นครู ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนไม่ควรไปอยู่ใน สถานที่แบบนั้น หรือแต่งกายเซ็กซี่ เวลาที่ไปเที่ยวทะเลไม่ว่าอาชีพใดก็สามารถแต่งได้หากไม่อยู่ในเวลาทำงานหรือไม่

ในเวลางาน : เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ มักจะโดนกดขี่ หรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ผู้บังคับบัญชาได้ เพราะอาจจะมีผลต่อการเจริญก้าวหน้าในอาชีพได้ เจ้าหน้าที่ระดับล่างจึงมักไม่กล้าแสดงความคิดเห็นใดๆ มีแต่ก้มหน้าก้มตาทำตามที่สั่งต่อไป

ระหว่างวิชาชีพ : เรามักจะเห็นการยินยอให้เกียรติที่เกินงาม เมื่อเราไปนั่งรับประทานอาหารที่เดียวกับ สส หรือ สว หรือแม้กระทั่ง นายพล ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างๆ ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้กินภาษีประชาชน และก็เป็นคนธรรมดาเหมือนกันกับพวกเรา แต่ทำไมถึงโดนปฏิบัติที่ดีกว่าหรือได้รับการบริการที่มากกว่าคนปกติ

คนเพิ่งพ้นโทษ : หากจะถามหาถึงความเท่าเทียมระหว่างคนเพิ่งพ้นโทษออกมากับคนปกติแล้วละก็ ท่าจะเป็นได้ยาก เรามักจะได้ยินคำว่า ควรให้โอกาสคนที่เพิ่งพ้นโทษออกมาจากคุก แต่เราก็ดันมีกฎของบริษัททั้งหลายทั้งปวงว่า “ต้องไม่เป็นบุคคลที่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย” แล้วแบบนี้คนคุกต่างๆ จะไปหางานทำได้ที่ไหน เพราะกฎบริษัทยังเขียนไว้แบบนี้เลย แล้วสุดท้ายคนเหล่านี้เมื่อไม่มีงานทำก็กลับไปทำผิดซ้ำเพราะไม่มีงานหาเลี้ยงชีพ แล้วแบบนี้เราจะเรียกว่าเท่าเทียมได้อยู่หรือ

ความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ

เพศชายมักจะคิดว่า อาชีพบางอย่างต้องเป็นเฉพาะเพศชายเท่านั้นที่ทำได้ เพศหญิงไม่สามารถทำได้ หรือแม้กระทั่ง LGBTQ เพศทางเลือกทั้งหลาย เมื่อแสดงตัวตนออกมาว่า ตัวเองเป็นเพศทางเลือก มักจะโดนใช้คำพูด หรือ การบริการที่แตกต่างไปจาก คนทั่วไป ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้ทำอะไรผิดเลย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำว่า “เท่าเทียม” ที่ “ไม่เท่าเทียม” แล้วเรายังจะเรียกว่า ประเทศไทยเป็นสังคมของความเท่าเทียมกันอยู่อีกหรือเปล่า?

About The Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *