Category: Food and Health

แพทย์เฉพาะทางชี้จุดเสี่ยง “อาการปวดหลัง-คอ” สัญญาณเตือนโรคกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอ อาจไม่ใช่แค่ออฟฟิศซินโดรม แต่คือสัญญาณเตือน “โรคกระดูกสันหลัง” ที่ไม่ควรมองข้าม อาการปวดหลังหรือปวดต้นคอ อาจดูเป็นเรื่องเล็กสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะในยุคที่คนทำงานใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือก้มหน้าดูโทรศัพท์มือถือแทบทั้งวัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดที่มองข้ามเหล่านี้ อาจเป็น “สัญญาณเตือนสำคัญ” ของปัญหากระดูกสันหลัง ที่ควรพบแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว จุดเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม นพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า “อาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดคอร้าวลงแขน หรือปวดหลังร้าวลงขา อาจเกิดจากความผิดปกติของหมอนรองกระดูก หรือ การกดทับเส้นประสาท…

ไขข้อข้องใจ “โรคกระดูกสันหลัง” เกิดจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรม?

ปวดหลังเรื้อรัง หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือภาวะกระดูกทับเส้นประสาท ล้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่หลายคนเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คำถามที่มักตามมาคือ “โรคเหล่านี้เกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว หรือ เป็นผลจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน?” นพ.พร นริศชาติ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ อธิบายว่า โรคกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Congenital Scoliosis), โรคกระดูกพรุนที่มีประวัติในครอบครัว, หรือ หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วกว่าปกติ อาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ตรวจพบยีนบางกลุ่มที่ส่งผลต่อการสร้างกระดูก อย่างไรก็ตาม พันธุกรรมเพียงอย่างเดียวมักไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะโรคเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อมี “พฤติกรรมเร่งเสื่อม” เข้ามาร่วม เช่น…

รู้หรือไม่ อาการปวดหัวอาจเป็นสัญญาณของโรคกระดูกสันหลัง ? 

“ปวดหัว” ไม่ควรมองข้าม เพราะสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงปัญหากระดูกสันหลังที่ซ่อนอยู่ และหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่ภาวะเรื้อรังหรือพิการได้ในอนาคต เมื่อพูดถึง “อาการปวดหัว” หลายคนอาจนึกถึงความเครียด ภาวะไมเกรน หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการปวดหัวบางประเภทอาจมีสาเหตุมาจากโรคกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม นพ.พร นริศชาติ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า อาการปวดหัวไม่ใช่เรื่องเล็กเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณร่วมกับอาการปวดคอหรือกล้ามเนื้อตึงเกร็งบ่อยๆ อย่ามองข้าม! โดยอาการปวดคอส่วนใหญ่สามารถเกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่ กล้ามเนื้อคอ ซึ่งเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ, ข้อกระดูก…

APCO สนับสนุนนโยบาย ‘อาหารเป็นยา’ เสริมสุขภาพคนไทย กระตุ้นเศรษฐกิจชาติ

บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO ผู้นำนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive Healthcare) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immuno-Boosting) สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย “อาหารเป็นยา” ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีธรรมชาติที่เหมาะสม และร่วมสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์กล่าวไว้ว่า “จงใช้อาหารเป็นยารักษาโรค” ปัจจุบันแนวโน้มในการใช้อาหารเพื่อบำบัดโรคเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ด้วยแนวคิด “อาหารเป็นยา” (Food as Medicine) เน้นการใช้โภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และบรรเทาอาการของโรคต่าง…

Genesenn (เกเนเซน) ปฏิวัติการดูแลหัวใจ! ผนึกกำลังผู้นำเทคโนโลยีสเต็มเซลล์จากจีน             

นพ.สุจิต บัญญัติปิยพจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเชิงป้องกัน และประธานที่ปรึกษาทางการแพทย์ของ Genesenn (เกเนเซน) ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ บริษัท Nanjing Elp Regenerative Medicine Technology Co., Ltd. (ELP) จากประเทศจีน ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมการฟื้นฟูหัวใจและหลอดเลือดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) เพื่อยกระดับศักยภาพทางการแพทย์ของไทยสู่เวทีโลก บริษัท Nanjing Elp Regenerative Medicine Technology Co., Ltd. (Elp)…

เปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “Together Against RSV” ในประเทศไทย รณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้ออาร์เอสวีในเด็กทารก

กรุงเทพฯ 6 มีนาคม 2568 – โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับ ซาโนฟี่ เปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “Together Against RSV” ในประเทศไทย รณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้ออาร์เอสวีในเด็กทารก โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (PIDST) ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย (RCPedT) พร้อมได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเป็นประธานในพิธีเปิด ตอกย้ำความมุ่งมั่นระดับนานาชาติในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี การติดเชื้ออาร์เอสวีก่อให้เกิดภาระโรคที่สำคัญโดยเฉพาะในทารก ด้วยความเป็นโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย จึงมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา โดยมีอาการต่างๆ เช่น ไข้ ไอ…

ภัยเงียบ ! หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท  รักษาไม่ตรงจุดเสี่ยงพิการ

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเผย หากมีอาการปวดคอ ร่วมกับอาการปวดร้าวลงแขน อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เร่งพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัย รักษาช้า ไม่ตรงจุด เสี่ยงพิการถาวร นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกระดับคอมีการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งปกติ และทำให้เกิดการกดเบียดเส้นประสาท หมอนรองกระดูกคอมีโอกาสเสื่อมก่อนวัยได้ จากการใช้งานคอหนักๆ ทั้งการก้ม เงยแบบสุดๆ หรือการโยกคอแรงๆ หรือการก้มหน้าทำงานในยุคปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นการใช้งานหมอนรองกระดูกคออย่างหนักทั้งสิ้น หากคุณรู้สึกตึงๆ ที่หลังคอ ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ปวดที่บริเวณสะบักร้าวลงแขน ชาที่นิ้วมือ หรือปวดเหมือนไฟฟ้าช็อต…

ฝุ่น PM 2.5 ตัวร้ายที่ไม่มีใครอยากแก้! คนไทยสูดฝุ่นแทนออกซิเจนจนมึน รัฐเอาแต่มองตาปริบ ๆ

“สูดเข้าไปค่ะพี่น้อง! PM 2.5 เสิร์ฟตรงถึงปอดทุกเช้า ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เพราะมันมากับอากาศที่เราหายใจกันทุกวัน” ว่ากันตามจริง ประเทศไทยมีฤดูกาลพิเศษเพิ่มขึ้นอีกฤดูแล้วค่ะ นั่นคือ “ฤดูฝุ่น” ที่เราต้องลุ้นว่ามันจะหนักแค่ไหนในปีนี้ แถมไม่มีทีท่าว่าจะจบง่าย ๆ เพราะอะไรเหรอ? มาดูปัจจัยที่ทำให้คนไทยต้องทนอยู่กับฝุ่นแบบไม่มีทางเลือกกัน แล้วเราจะอยู่กันยังไง? • หน้ากาก N95 กลายเป็นของจำเป็นในชีวิตประจำวัน• ฟอกอากาศกันในบ้าน แต่พอออกไปข้างนอกก็ฟุ้งเหมือนเดิม• เด็ก ๆ ในโรงเรียนต้องงดกิจกรรมกลางแจ้ง แถมป่วยกันยกชั้น• คนแก่ปอดพังไปกี่คนแล้วไม่รู้ อยากตะโกนให้โลกรู้ว่า… PM 2.5…

ยกของหนักผิดท่า เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เผย โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดกับคนวัยหนุ่มสาวได้หากมีพฤติกรรมยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม รุนแรงถึงขั้นหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น หมอนรองกระดูกสันหลัง คือ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะด้านนอกคล้ายยางรถยนต์ ส่วนด้านในจะมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว ทำหน้าที่เป็นข้อต่อรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และมีหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน กระโดด บิดตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นของการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มักเกิดกับกลุ่มคนอายุมากแต่อาจเกิดในวัยหนุ่มสาวได้หากมีกิจกรรมที่ส่งผลต่อความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ไวขึ้น เช่น ยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม นั่ง หรือ ยืนทำงานที่ไม่ถูกท่า หรือ ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ และถูกกระแทกรุนแรงที่กระดูกสันหลัง ออกกำลังกายหักโหม…

นวัตกรรมการรักษา “จบปัญหาอาการปวดกระดูกสันหลังได้ใน 1 วัน

จากสถานการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับ “กระดูกสันหลัง” ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องทำงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าโรคปวดหลังทุกชนิดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 33.29 และพบว่าสูงสุดในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป, พนักงานเอกชน รองลงมา คือ กลุ่มทำงานภาคเกษตรกรรม โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบมากคือ 45-54 ปี รองลงมาช่วงอายุ 55-64 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงอาการปวดหลัง หลายคนคิดถึงการผ่าตัดใหญ่และพักฟื้นเป็นเวลายาวนาน แต่สำหรับ รพ.เอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งเดียวและแห่งแรกในประเทศไทย ได้ลบภาพจำเดิมๆ ของการผ่าตัดหลังยุคเก่าออกไป…

You missed